วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เวลากับความเงียบเหงา

ผ่านวันเวลา ติดในกับเสน่หา กระทำบาปราคะ
ฉันไม่มีความทุกข์ เพราะมันเลยผ่านภาวะนั้นแล้ว

เวลาที่ผ่านไปไม่ทำให้ความเงียบเหงาจางหายไป


เสียงดังก้องทั่วไป ไม่ทำให้ความเงียบเหงาจากไป

ทน ทน ทน เมื่อไม่ เข้าใจ
เมื่อเข้าใจแล้เว ไม่ต้อง ทน

ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเดินทางที่ฝึกตน

19 พ.ย. 2553 เริมเดินทางอีกครั้ง เมือเหลืออีก 682 วัน ที่จะเกษียณอายุ ในเดือนนี้ มีการเดินทางมากมาย ครั้งแรก 1 พ.ย. 2553 ไปแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นวิทยากรหลักสูตร Dialogue ให้กับผู้ปฏิบัติงานเขื่อนสิริกิติ์ นอนที่บ้านลำปาง กลับมาสำนักงานกลางวันที่ 5 พ.ย. 2553 วันรุ่งขึ้น 6 พ.ย. 2553 เดินทางไปเป็นผู้ประสานงานรับเสด็จ ที่เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลับมาวันที่ 9 พ.ย. 2553 วันที่ 11 พ.ย. 2553 เดินทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัย กลับมานนทบุรีวันที่ 12 พ.ย. 2553 วันที่ 17 พ.ย. 2553 เดินทางไปเช้าเย็นกลับ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เอางานเร่งด่วนไปให้ผู้ช่วยผู้ว่าการ เจ้านายโดยตรงลงนาม วันที่่ 18 พ.ย. 2553 เดินทางไปเช้าเย็นกลับ จังหวัดนครราชสีมา แวะเขื่อนลำตะคองชลภาวัฒนา เพื่อไปประชุมโครงการ อพ-สธ.ที่ มรท อีสาน และดูสถานที่จัดงานนิทรรศการ อพ-สธ. ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง งานจะมีในเดือนตุลาคม 2554 กฟผ. ที่มีงานสนองพระราชดำริจะนำนิทรรศการไปร่วมแสดง เย็นวันที่ 19 พ.ย. 2553 เดินทางกลับบ้านจังหวัดลำปาง แล้ววันที่ 21 พ.ย. 2553 จะเดินทางกลับนนทบุรีไปทำงานต่อ วันที่ 22-23 พ.ย.2553 จะเข้าร่วมงาน การจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 5
กรุงเทพ แม่เมาะ ลำปาง 620 ก.ม. ไปกลับ 1240 ก.ม. กรุงเทพ รัชชประภา สุราษฎร์ธานี 750 ก.ม. ไปกลับ 1500 ก.ม. กรุงเทพ อุบลรัตน์ ขอนแก่น 450 ก.ม. ไปกลับ 900 ก.ม. จุฬาภรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น 250 ก.ม. ไปกลับ 500 ก.ม. กรุงเทพ ลำปาง 600 ก.ม. ไปกลับ 1200 ก.ม. ระยะทางทีเดินทาง ยังไม่ถึงสิ้นเดือนรวม 5340 ก.ม.
สุขภาพไม่ได้รับการพัฒนา ร่างกายไม่ได้ผ่อนพักตระหนักรู้ หลงและทำอย่างตกจมในภวังค์ ผู้คนทักทายว่าอ้วนขึ้น
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายอย่างในเดือนนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เรียนรู้และจดจำได้เป็นอย่างดี
เริมจาก หลักสูตร Dialogue เป็นหลักสูตรที่ไม่เคยได้อบรมหรือลองทำมาก่อน แต่อาศัยที่เคยทำหลักสูตรอื่นที่ใกล้เคียง และสกัดจากการอ่าน มีความรู้มือสอง ทดลองให้เป็นมือหนึ่ง พบว่าในบางครั้งต้องอาศัยความเห็นของผู้มีประสบการณ์ช่วยชี้แนะจึงจะได้ผล และต้องมีเวทีเล่นบ่อยๆ จึงจะชำนาญ
การรับเสด็จที่รัชชประภา เรียนรู้ว่าคนอย่างไรก็ไม่เปลี่ยน คนที่ยึดถือกรอบ กฏ ปิด พัฒนายาก แม้เรียนมามากก็ใช้งานได้น้อยเพราะปรับไม่เป็น ติดกรอบ กฏ
การสอบสวนที่อุบลรัตน์และจุฬาภรณ์ เรียนรู้สองประการ เพื่อนเก่ายังเหมือนเดิม ระยะห่างอย่างไรก็อย่างนั้น และคนทุจริตผลการกระทำคือออกสถานเดียว
การขึ้นเงินเดือนประจำปี บางครั้งก็อยู่กับโชคชะตา ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และความผิดพลาดอาจเกิดได้หากข้อมูลไม่ครบถ้วน
ระหว่างวันที่่ 16-17 พ.ย. 2553 ได้สนทนากับหนูแตนเกี่ยวกับหนูปอม ทราบว่า "บางครั้งคนเราพยายามเท่าไร ให้มากเท่าไร หากภาครับไม่เปิดในคลื่นเดียวกัน ความพยายามก็ไร้ผล" ชีวิตคนเป็นไปตามความคิดของตนเอง ไม่เปลี่ยนความคิดยากที่จะเปลี่ยนชีวิต ความคิดจะเปลี่ยนจากคำถามที่ตนเองตั้งโจทย์ให้กับชีวิตตนเอง คำถามที่ตัดสินสิ่งที่ปรากฏหรือคำถามที่เรียนรู้สิ่งที่ปรากฎ
เมื่ออยู่ที่บ้านเรียนรู้ว่าความโกรธนำมาซึ่งความผิดพลาด ความผิดพลาดนำมาซึ่งความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์นำมาซึ่งความเข้าใจ
เมื่อต้องจากลูกและเมีย เห็นความรู้สึกของลูกแล้วสะทกสะท้อนมาก น้ำตาลูกชายไม่ไหลแต่คลอ ไม่อยากมองพ่อแต่พ่อสัมผัสได้ จากเป็นดีกว่าจากตายครับลูกชาย เธอต้องเรียนรู้และเข้าใจ พ่อและแม่ก็จะเรียนรู้และเข้าใจเช่นกัน
ในท่ามกลางเคราะห์ก็มีโชค เป็นการเรียนรู้อีกครั้งหนึ่ง ปัจจัยหลายประการนอกเหนือการหยั่งรู้ของมนุษย์ ไม่ต้องคาดเดา เพียงแต่สัมผัสได้ก็เพียงพอแล้ว

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เวลากับความหมายในชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2553 นั่งรถไฟกลับไปทำงานที่กรุงเทพ ขบวน 14 ออกจากลำปาง 19:10 น. ล่าช้าไปแล้ว 10 นาที นอนและมารู้สึกตัวตื่นเมื่อประมาณ 04:30 น. รถไฟพึ่งถึงนครสวรรค์ เลียเวลาไปแล้วประมาณชั่วโมงครึง วันจันทร์ คงเป็นอีกวันที่มาทำงานสายโดยคาดเดาได้
เวลาสำหรับคนที่จากบ้าน(ลำปาง)มาทำงานที่กรุงเทพ นั่งรถไฟกลับทุกสัปดาห์ หากรถไฟกำหนดถึงประมาณ 7 โมงเช้า แต่มีเหตุให้ล่าช้าไป 3 ชั่วโมงนั่นหมายถึงเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวหายไปอีก หนึ่งในแปดของวัน และเท่ากับหนึ่งในห้าของเวลาที่ตื่นอยู่ น่าสงสารคนที่ใช้รถไฟ พนักงานบนรถไฟ และประเทศไทย เราต้องเสียเวลาไปโดยไม่ได้จัดการ
หากเรายอมรับชตากรรมกับรถไฟ ก็ไม่ต้องดิ้นรน เพราะคนรถไฟไม่เคยเดือดร้อน คนที่ใช้รถไฟก็ไม่เดือดร้อน ผู้บริหารประเทศก็ไม่เดือดร้อน เพราะวัฒนธรรมด้านเวลาของเรามีน้อย เราเป็นประเทศที่ไม่รีบเร่งเป็นประเทศที่สบายๆ
(ขณะที่บันทึกอยู่นี้ รถไฟจอดนิ่งเป็นเวลา สามสิบนาทีแล้ว และเวลาคงล่วงเลย เสียเพิ่มขึ้นเป็น สองชั่วโมงเป็นอย่างน้อย)

เราอาจจัดสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคนได้ถ้าเราต้องการ มนุษย์จัดการได้ทุกสิ่ง หากปรารถนา

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รถไฟไทย และเวลา

ช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อความปลอดภัยได้ใช้รถไฟเป็นยานพาหนะหลักในการเดินทางกลับบ้าน จากกรุงเทพ ไปลำปาง เกือบทุกอาทิตย์
รถไฟ เป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ ไม่อาจตั้งความหวังเรื่องเวลา วันนี้ 1 ตุลาคม 2553 โดยสารรถไฟ ขบวนที่ 13 ออกจากสถานีบางซื่อ กำหนด 19:57 แต่กว่าจะได้ขึ้นรถเป็นเวลา 21:00 น. และเวลาที่รถออกจากสถานีเป็นเวลา 21:22 น.
มารอตั้งแต่ 18:30 น. เป็นอะไรที่น่าตั้่งคำถามมาก
ถามว่าสังคมเรายอมรับและไม่ตั้งความหวังอะไรกับเรื่องเวลากับรถไฟแล้วละหรือ ทุกอย่างมีเวลาของมันยกเว้นรถไฟหรือ เราไม่สามารถปรับปรุงเวลาในการเดินรถให้ดีกว่านี้แล้วหรือ หรือว่าเวลาที่เรากำหนดให้มีการเดินรถไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือธรรมชาติของการเดินรถ มีคำถามตั้งมากมายที่ควรค้นหาคำตอบ คำตอบที่จะบริหารความคาดหวังของสังคมที่มีต่อรถไฟไทยได้
วันนี้ระหว่างรอรถไฟ (รออย่างไม่มีความหวังใด ประชาสัมพันธ์ ประกาศเวลารภจะมาถึงสถานีเมื่อได้รับข่าวเป็นเที่ยวต่อเที่ยว เวลา 20:00 น. ผมถามถึงกำหนดเวลามาของรถด่วน ขบวนที่ 13 ได้รับคำตอบว่าจะบอกเมื่อทราบเวลาออกจากสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง 555) สนทนากับเด็กขายของที่สถานีรถไฟ เขาบอกว่ารถไฟมาช้าผิตปรกติอย่างนี้มาสองสามวันแล้ว เขามีความเห็นว่าปัจจุบันนี้บ้านเราล้าหลังกว่าเพื่อนบ้าน แม้แต่เขมร ยังไม่กลัวเราเลย ผมถามว่าเป็นเรืองรถไฟหรือ เขาตอบว่าทุกเรื่องเลย
ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไปไกลมากแล้ว หากตั้งใจค้นหาธรรมชาติของรถไฟไทยคงค้นพบได้ไม่ยาก เป็นการค้นหาเพื่อการบริหารจัดการกับเวลาของรถไฟ ส่งผลไปถึงการบริหารความคาดหวังของผู้ใช้บริการคำถามของผมจึงมาถึงที่ว่าทำไมถึงไม่ทำกัน ไม่ค้นหาธรรมชาติของมันจัดการมันให้เป็นไปตามธรรมชาติของมัน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเทตโนโลยี แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ล้วนๆ ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม การไม่รับรู้คือการปกปิดอำพรางชนิดหนึ่ง การปกปิดเช่นนี้ส่วนมากเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนน้อยมากกว่าส่วนใหญ่
สังคมไทยควรค้นหาสิ่งเหล่านี้เพื่อบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ แต่สังคมไทยก็เหมือนกับรถไฟไทย เป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ และไม่อาจตั้งความหวังเรื่องเวลา
ดังนั้น หากเราทำการสืบค้นให้ดี คงพบว่ารถไฟไทย และเวลาไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกันเลย

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บนเส้นทางไปเขื่อนสิริกิติ์

เราเดินทางโดยรถไฟ รถเร็วกรุงเทพ-เด่นชัย ออกจากบางซื่อ 20:34 น. ขบวนนี้ไม่มี่รถเสบียง หาน้ำทานยังไม่ได้ เรากระโดดลงไปซื้อน้ำที่สถานีดอนเมือง สองนาทีกับการวิ่ง ยังขึ้นรถทัน
มาเขื่อนสิริกิติ์พร้อมกับโจทย์เรื่อง Dialogue ที่ อขส. ต้องการให้จัด โจทย์ไม่ยากยากที่ไม่รู้ว่าจะทำกับใครบ้าง ตั้งใจว่าจะไปหาโจทย์ให้ชัดเจน ทำกับใคร
วางแผนไว้ว่า เริ่มด้วยการ Check In โดยการนั่งนิ่งประมาณ 1 นาที เพื่อถามตนเองว่ามีจุดประสงค์อะไรในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ แจกกระดาษเปล่าให้สีและปากกา ตอบคำถามด้วยการวาดภาพ ใช้เวลาตรงนี้ประมาณ 30 นาที ถึง 45 นาที เสร็จแล้วเชิญชวนให้ถือกระดาษที่วาดแล้วเดินไปรอบๆ ตามเสียงเพลงเบาประมาณ 3 นาที เพลงจบหยุดยืนนิ่ง อยู่ใกล้ใครชวนกันจับคู่กับคนที่อยู่ใกล้กัน เชื้อเชิญให้คู่ได้ดูรูปภาพ ใช้เวลาพิจารณาภาพประมาณ 3 นาที ให้เพื่อนได้เล่าให้พังถึงภาพที่เราเขียน ฟังที่เพื่อนเล่าแล้วสลับกัน(ตรงนี้ต้องให้เครื่องหมายว่าใครจะเป็นคนเล่าก่อน เป็น A และ B ) ใช้เวลาตรงนี้ประมาณ 60 นาที พักเครื่องดื่ม กลับเข้ามานั่งนิ่ง(ตรงนี้ต้องสร้างบรรยากาศ เกี่ยวกับกถาธรรม การพูดที่ไม่ทำให้จิตเร่าร้อน ไม่กระตุ้นจิต) ให้พิจารณาเรื่องสัตว์สี่ประเภท ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สรุปช่วงเช้า เรื่องการสนทนาที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การตีความ จุดประสงค์นำพาเราไป ความแตกต่างของคน ในหลายๆ แบบ การสนทนาที่กระตุ้นให้เร่าร้อน ตอบข้อซักถาม จบครึ่งวันแรกไปรับประทานอาหาร
เริ่มตอนบ่ายด้วย Body Scan ของแม่ชีวัดพลัม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที สรุปด้วยการตระหนักรู้ในตน การกลับมาอยู่ที่ฐานกาย ต่อด้วยชักชวนให้รู้จักฐานใจ และฐานคิด ฐานแต่ละฐานหมายถึงอะไร ความหวั่นไหวเมื่อถูกกระทบ หนักแน่นได้ด้วยรากฐานที่แน่น และหนักแน่นที่สุดคือกาย (เมื่อคิดไม่ออกให้ใช้ความรู้สึก เมื่อใช้ความรู้สึกแล้วไม่สำเร็จให้กลับมาอยู่กับกาย อยู่กับลมหายใจของเรา กายของเรา)ใช้เวลาประมาณ 45 นาที พักรับประทานเครื่องดื่ม สามช่วงที่ผ่านมาเป็นการเตรียมกาย ใจ และความคิด เพื่อการสนทนาที่ก่อให้เกิดปัญญาร่วม กลับเข้ามาชวนเชิญทุกคนนั่งนิ่ง 1 น่าที พูดชักจูงกลับไป หาจุดที่เริ่มต้นของชีวิต หาความประทับใจเมื่อวัยเยาว์ ก่อนจะได้เรียนจากระบบโรงเรียน ให้จับกลุ่มสามคนใช้เกมจับกลุ่ม) ให้สนทนาแลกเปลี่ยนกัน โดยแบ่ง เป็น A B และ C เริ่มจาก A เล่า B ฟัง C สังเกต โดยมีแบบบันทึก(เป็นแบบประเมินตนเองในวันถัดไป)ให้ C แล้ววนกลับมา จนครบสามคน จากนั้น ให้ ทั้งสามคนได้แลกเปลี่ยนการสังเกตกัน สรุปเป็นการสังเกตุ แลกเปลี่ยนกันเป็นการ Check Out จบวันแรก
วันที่สอง Check In ด้วยหัวใจดวงเล็ก ให้เขียนความรู้สึกด้วยถ้อยคำ ไม่เกิน สิบห้าคำ ทุกคนอ่านเฉพาะที่เขียนสิบห้าคำเท่านั้น วิทยากรเชิญชวนให้ประเมินตนเอง วิทยากรสรุปสิ่งที่ฟังและชวนให้เห็นการฟังในกลุ่มใหญ่ สอบถามความรู้สึกเมื่อได้ฟัง นำสู่การตระหนักในชุดความคิด(Mental Model) การตัดสิน การจัดกลุ่ม กลไกอัตโนมัติของจิต (ปกป้อง และปกติ) คุณภาพการฟัง จากแบบเมื่อวานตอนเย็น และบรรยากาศที่เป็นความสงบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเสร็จสรุปแล้ว พักเครื่องดื่ม กลับเข้ามาชวน Body Exerciese และ Brain Exercise (คิดกิจกรรมทีหลัง) ด่อด้วยการให้โจทย์ที่จะสนทนากันด้วยหัวข้อ "......" จบครึ่งเช้าวันที่สองด้วยการประเมินตนเองพักรับประทานอาหารกลางวัน บ่ายเริ่มด้วย Body Scan วิทยากรสรุด้วยการตระหนักรู้ในตนเกี่ยวกับการฟัง การตาม ไม่ได้เป็นการควบคุมแต่เป็นการตามดูให้รู้ในสิ่งที่ตนทำ นำสู่การสนทนาที่ไม่มีหัวข้อ สรุปประเมินตนเอง พักรับประทานเครื่องดื่ม วิทยากรสรุปและนำสรุป และนำสู่การ Check Out ทิ้งข้อคิดเรื่องการฟังที่ก่อให้เกิดปัญญาร่วม ให้แนวทางที่จะสานต่อให้เกิดศักยภาพจากเมล็ดที่บ่มเพาะไว้ต้องบำรุงรักษา การเรียนที่ไม่มีการรู้
จากกันด้วยดี
จบความคิดที่ต้องการแต่ยังมีความรู้สึกว่าสองวันน้อยไป

ด้วยจิตนอบน้อม
ศิริวัฒน์

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สิ้นสุดการเดินทางอันยาวนาน

วันนี้เป็นวันที่ีสิ้นสุดภารกิจในการงาน การงานที่ทำเงินหล่อเลี้ยงชีวิต ออกจาก กทม. วันที่ 6 กรกฎาคม 2553 มายังสุราษฎร์ธานี วันนี้ 13 กรกฎาคม 2553 จะกลับ กทม. คิดถึงงานอื่นๆ ในหน้าที่ จบภารกิจคราวนี้ไม่ดีงามในภารกิจ แต่ดีงามในแง่ความสัมพันธ์ ของส่วนตัว ได้รู้เห็นความเห็นแก่ตัวของคนมากขึ้น และเห็นอัตตาของตัวเองยังไม่ลดลง ขอบคุณที่ได้กลับมาเยือนถิ่นเก่า ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้อง ความผูกพันกลับมา
บางครั้งเราก็ต้องกินบุญเก่า ถ้าไม่มีบุญเก่าเราก็อาจจะประสานงานไม่ได้ดีถึงเพียงนี้
งานที่ข้องเกี่ยวกับผู้คนจำนวนมากเป็นงานที่อาจจะยากถ้าไม่มีใจ แต่ถ้ามีใจเราก็ไปได้ไกลกว่า บางคนหวัง บางคนตั้งใจ บางคนแสวงหา แต่ใครละจะได้ดั่งหวัง
จบวันนี้เพื่อมีวันใหม่ จบแล้วเราเรียนรู้อะไรบ้าง เรียนรู้แล้วเราเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ชีวิตยังคงเหมือนเดิมหรือพัฒนาขึ้น จากที่เราเรียนรู้มา เราไม่อาจเรียนรู้ไดยไม่มีบทเรียน เหตุการณ์เป็นบทเรียนที่ดี เป็นครูที่อยู่ตรงหน้า เพียงแต่ว่าลูกศิษย์ได้เรียนรู้หรือยัง
บางครั้่งเราก็มีใจไม่ต้องการเรียนรู้ เรามีเหตุผลมากเกินไป เราระแวงแคลงใจ เรากลัว เราเลยไม่เรียนรู้
น่าสงสารตัวเราที่อดีตสร้าง เหตผล ความระแวง และความกลัวให้กับเรา เราตกอยู่ในบ่วงนั้น
เราผู้

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บนเส้นทางแห่งการแสวงหา

บนรถทัวร์ บขส.เราเดินทางกลับ กทม.โดยรถของ บขส. 999 24 ที่นั่ง ลอง post ข้อความบนรถดูสักครั้ง เพราะวันนี้ได้นั่งคนเดียว เป็นอะไรที่สบายดีมาก ที่ไม่มีใครเลือกนั่งกับเรา
เดินทางจากพัทยาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหลายคน บนเส้นทางแสวงหาเราและเขา เชื่อมกันและกันบนความสัมพันธ์ที่มี เป็นสิ่งทีทุกคนแสวงหากันอย่างหวังจะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
บางครั้งความมั่นใจของคนต้องใช้เวลาที่จะสร้าง มีโอกาส มีปัจจัยจหลายอย่าง เราเดินทางทั้งชีวิต บางครั้งมั่นใจบางครั่งไม่มั่นใจ บางทีต้องถามตนเองว่าทำไมต้องมั่นใจหรือไม่มั่นใจ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แม่

ครบรอบวันจากไปของแม่เป็นปีที่สามแล้ว ยังคิดว่าแม่คุ้มครองเราอยู่เสมอ
รักแม่

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เสียงภายในประเทศไทย

มีเสียงภายนอกดังไปหมด เสียงของคำอธิบายเพื่อบอกตัวตนเเห่งตน
ภาวะวิกฤติดำเนินอยู่ การเเถลงข่าว เเสดงความคิดเห็น เก็บประเด็นของตนดังทั่วตามกำลัง
ผู้คนที่ปกติ มาชุมนุมกัน เรียกร้อง เปลี่ยนผ่านเป็น ชุมนุมโดยไม่สงบ พัฒนาเป็น
ผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นตรงข้ามกับ ผู้ก่อการดี่
เสียงภายในดังขึ้นมาบ้าง สอบถามว่า ดีคืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ฯลฯ
เสียงภายในตอบ สำคัญอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นเเล้ว

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

บนทางไปสู่งานมหกรรมหนังสือ

มาอยู่กรุงเทพได้สองเดือน ตามแรงราหูส่ง ส่งมาดี และทำให้ชะตาบางอย่างเปลี่ยนไป ดีบ้างไม่ดีบ้าง เป็นปกติบ้างไม่เป็นบ้าง เราไม่อาจคาดการใดได้
ลองทำความกล้าออกจากห้องพักเก่า ไปเพื่อไปดู มหกรรมหนังสือแห่งชาติ (น่าจะเรียกว่าหนังสือแห่งกรุงเทพ งานนี้น่าจะขยายผลไปได้มากก่วานี้ เพราะงานนี้ไม่ได้มีส่วนรว่มจากต่างจังหวัดอย่างที่สัมผัสได้ แม้หนังสือหลายเล่มเขียนจากประสบการณ์ในต่างจังหวัด)
ความกล้าพาตัวเราเดินออกจากห้องพักผ่านการไฟฟ้าที่เปิดประตูหลังไว้ให้เดินผ่านได้อย่างเดียวนับเป็นความกรุณา และถ้าเป็น CSR น่าจะไม่ผ่านเพราะยังระแวงชุมชน ปิดกันชุมชน ทั้งที่ถ้าใช้ปัญญาน่าจะทำได้ดีกว่านี้
นั่งรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน สาย 179(ราคาเจ็ดบาทถ้าต้องจ่ายแต่ปีหนึ่งจ่ายภาษีเป็นสองสามแสน เฮ้อ!)ไปลงบิ๊กซี เพื่อหาของรองท้อง เป็นอาหารหลักสำหรับวันเชียวละ จากบิ๊กซี ต่อรถสาย 50 14 บาท ไปลงบางซื่อเดินอีกสองร้อยเมตรเห็นจะได้ถึงทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่ารถ 41 บาทถึงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จัดงาน โอ้แม่เจ้า มีแต่คน กับหนังสือ คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ หนังสือ

เดินเลือกหนังสือ ดูตาม Guide Map ไม่ได้สริดนะ(สริด=ดัดจริต) แต่เป็นภาษาอังกฤษจริงๆ ไม่เห็นเค้าบอกเป็นภาษาไทยเลย ได้หนังสือมาให้ภรรยาหนึ่งเล่มเป็นหนังสือของสำนักพิมพ์แสงแดด เป็นเรื่องทำกับข้าว ชื่อ แกงป่า ผัดเผ็ด


ไปสมัครเป็นสมาชิกของมูลนิธิโกมลคีมทอง เพราะชอบมานานแล้วได้หนังสือชื่อ ชีวิตสอนอะไรเราบ้าง

แต่บางสำนักพิมพ์เราไม่ได้สมัครเพียงซื้อหนังสือเขาเขาก็ให้สมัครสมาชิกฟรี

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ในคืนพระจันทร์เพ็ญแห่งเดือนมาฆะ

คืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ในการเดินทางจากบ้านลำปางมายังนนทบุรีเพื่อเดินทางต่อไปยังสุราษฎร์ธานี เป็นการเดินทางที่มัวเมาอีกครั้งหนึ่งให้สมกับที่เป็นนักเลงสุรา
พบเจอกับเพื่อนเก่ารุ่นน้อง มากับเพื่อนที่ทำงานทั้งสองคนชื่อเหมือนกัน ทำงานที่เดียวกัน คนหนึ่งจะไปซ้อมรับปริญญาโทที่กรุงเทพ อีกคนจะไปอบรมเรื่องเกี่ยวกับ HR ทั้งสองคนทำงานในสถานที่ที่คนในที่ทำงานมีสถานะไม่เท่าเทียมกัน มีชั้นวรรณะซึ่งควรจะหมดไปแล้ว วรรณะหนึ่งเป็นอาจารย์ อีกวรรณะหนึ่งเป็นพลเรือนทั้งสองเป็นข้าราชการเหมือนกัน แต่ความแบ่งแยกถือดีในวรรณะยังคงมี แล้วตามด้วยการเพ่งในความเหนือกว่า นำมาซึ่งการเข้าสู่อำนาจในสถาบันนั้นๆ เป็นธรรมดาของสังคมไทยผู้เหนือกว่าต้องการอำนาจที่มากกว่า เพื่อให้ได้ความจงรักภักดี นำสนองระบบอุปถัมป์ให้ยั่งยืนในสังคมไทยต่อไป ให้และรับอย่างผิดทาง บนความเชื่อในอำนาจที่เหนือกว่า สร้างทางลัด แหกกฏ เหนือเกณฑ์ เป็นใหญ่ เป็นวัฒนธรมใหญ่ในสังคมไทยที่ยังยืนได้รับการยอมรับเสมอมา
ผมแนะนำน้องที่จบปริญญาโทให้เรียนต่อปริญญาเอก และแนะนำให้น้องที่จะไปอบรม HR ให้หาวัตถุประสงค์ของ HRM ให้เจอในการอบรม
เราสนทนากันหลายเรื่อง และส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพการณ์ในสถาบันหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่ามีส่วนคล้ายกันบ้างกับสถาบันที่ผมทำงานอยู่อาจเป็นเพราะเป็นสถาบันในประเทศเดียวกัน ประเทศที่มีหลายมาตรฐานภายใต้มาตรฐานเดียว (Millitary Standard) ประเทศที่มีระบบอุปถัมป็์ศักดินาข้าไท...
เราสนทนากันในตู้เสบียงของรถเที่ยวล่อง ขบวนที่ 14 ท่ามกลางบรรยากาศการเฉลิมฉลองของชาวต่างชาติหลายคนที่ Happy Birth Day ให้กับเพือน เพลงดัง เต้นรำ เสียงดังเกิน 80 เดซิเบล แน่นอน จบการสนทนาตอนพนักงานประจำตู้เชิญเราให้กลับตู้เขาจะปิดแล้ว เรากลับกันด้วยดี
นอนหลับไปในการไกวตัวของรถไฟ เหมือนหลับไหลในเปลที่แม่แกว่งไกวอีกครั้ง (พอเราหลับแม่หยุดไกว แต่รถไฟไม่)รถถึงอยุธยาตอน 05:22 น. รอลงรถไฟที่สถานีบางซื่อต่อไป
ให้ข้อแนะนำน้องๆ แต่ยังไม่ได้แนะนำตนเอง ยังคิดไม่ออกครับ

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู ปี ๒๕๕๓

ด้วยดวงจิตนอบน้อมต่อสรรพสิ่งทั้งมวล
ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ ด้วยสติ สมาธิเท่าที่มีตามปัญญาที่เป็นไป
ข้าพเจ้าขอคารวะต่อบูรพาจารย์ทั้งมวล เพื่อความเป็นสิริมงคลของโลก และความเกี้อกูลที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งหมดเสมอมา ด้วยเดชะแห่งความนอบน้อมที่กระทำแล้ว ขอจงเป็นพละ เป็นปัจจัย เกี้อกูลให้โลกนี้เป็นไปอย่างที่มีธรรมเกื้อหนุน สงบ สันติในใจผู้แสวงหา

ผมคิดถึงครูในวันครู ครูคนแรกของผมคือแม่ แม่สอนผมให้มีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่น และแม่ก็อยู่เพื่อคนอื่นมาตลอดชีวิต แม่สอนผมจากการกระทำ แม่กระทำให้ผมดูมาตลอดชีวิต ถึงผมจะไม่ใช่คนดีของสังคมตามอุดมคติ แต่ผมก็มีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นมาตลอดชีวิต เดินตามรอยแม่อย่างไม่ลังเล ผมรักและเคารพรวมทั้งทำทุกอย่างได้เพื่อแม่ครับ แม้แม่จะละสังขารไปนานแล้วผมยังเหมือนเดิมครับมีแม่ในกายและใจผมเสมอ

เมื่อสมัยผมยังเด็ก ไม่เป็นคนเรียบร้อยตามที่สังคมคาดหวังและแม่คาดหวัง
ผ่านวัยมาผมยังคงเป็นเหมือนคนเดิม เป็นลูกเด็กเล็กๆ ในสายตาของแม่ เป็นลูกศิษย์ที่เฮี้ยว ไม่มีอนาคตของคุณครู แต่คุณครูทุกคนไม่เคยละความพยายามที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ครูมีให้แก่ผม และหวังว่าผมจะเรียนรู้ตามที่ครูทำ ผมซาบซึ้ง และไม่ลืมบุญคุณของคุณครูทั้งหลายเสมอมา

ผมใช้นามในการสื่อ (นามปากกา) ว่า ทิพย์ พัชน์ศรี ก็มีที่มาจากครูของผมครูที่ทำให้ลูกศิษย์เป็นผู้เป็นคนได้ ทำมาหากินได้จนผมจะเกษียณแล้ว(อีกกี่วันดูได้จากด้านข้างครับ)

ทิพย์ มาจากคุณครูพรทิพย์ หวังชนะ คุณครูประจำชั้น มศ.4-5 โรงเรียนโยธินบูรณะ ของผมท่านสอนคณิตสาตร์ หรืออะไรผมก็จำไม่ได้แม่นยำนัก แต่รู้ว่าในตอนที่ผมมีความคิด “กบฏ” ต่ออำนาจของผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ อ.บัญชา ... ผมไม่ยอมเข้าห้องเรียน คุณครูพรทิพย์ ของผมเป็นผู้ทำให้ผมเป็นคนท่านเข้าใจความรู้สึกของเด็กดื้อ และเห็นว่าผมเป็นคน ท่านทำให้ผมเป็นคน วิชาที่ท่านสอนเป็นพื้นฐานของการคิด ท่านสอนให้คิดให้ดี เป็นพื้นฐานให้ผมเป็นคน

พัชน์ มาจากคุณครูพัชนี วงศาโรจน์ คุณครูสอนภาษาอังกฤษของผม ในโรงเรียนโยธินบูรณะเช่นกัน ตั้งแต่ มศ.ต้น ยัน มศ.ปลาย ท่านเป็นครูที่ทำให้ผมไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนอีกเลยเพราะสิ่งที่ท่านสอนคือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากทุกสิ่งที่อยูรอบตัวของเรา หลังจากเรียนกับท่านแล้วผมไม่เคยสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านเลย นอกจากนั้นผมยังสามารถสนทนากับชาวต่างชาติได้พอสมควร แม้การถกแถลงในเรื่องจริยธรรมซึ่งเป็นอะไรที่เข้าใจยาก แต่ผมก็ทำได้ เป็นพื้นฐานให้ผมได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ แม้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของภาษาเดียวกัน ท่านสอนให้สื่อสารด้วยใจ

ศรี มาจากคุณครูแจ่มศรี ขันทีวิทย์ คุณครูสอนภาษาไทยของผมในโรงเรียนโยธินบูรณะอีกนั่นแหละ คุณครูสอนให้ผมรักภาษาไทยที่เป็นพื้นฐานของชีวิตที่สัมพันธ์กับอดีต ปัจจุบัน อนาคต และ รากฐานของความเป็นไทยของพวกเราทุกคน คุณครูให้โอกาสผมมากมายผมเป็นคนแต่ฉันท์สดุดีในหนังสือรุ่นของโรงเรียนสองปี ผมแต่ฉันท์จำไม่ได้ว่าเป็นฉันท์แบบใด แต่จำได้ว่าทั้งสองปี ฉันท์ที่ลงนามว่าผมเป็นผู้ประพันธ์นั้น คุณครูเป็นผู้แก้ไข้และแต่งให้ใหม่เกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดก็ว่าได้แต่คุณครูคงความหมายที่ผมตั้งใจได้ทั้งหมด ครูสอนให้ผมรู้จักความพยายามและความตั้งใจ

ทิพย์ พัชน์ศรี เป็นนามปากกาที่ใช้มาตลอดสามสิบปีของชีวิต ด้วยความตั้งมั่นว่าภาษาเป็นพื้นฐานของการคิดและการคิดต้องใช้หลักของการคำนวณ ทั้งหมดต้องมีความอดทนพยายามรวมทั้งความตั้งใจเป็นพื้นฐาน ผมเคารพคุณครูทั้งสามครับ

แต่ชีวิตผมไม่ได้มีเพียงคุณครูที่เอ่ยนามมา มีคุณครูอีกมากรอบกายและใจของผม

คุณครูอนุกูล... สอนวิชาเคมี และสอนให้ผมรู้ว่าเมื่อถึงเวลาวิกฤติต้องมีผู้นำ ต้องมีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ
คุณครูวนิดา... สอนวิชาเรขาคณิต และสอนให้ผมรู้ว่าการค้นคว้า ความพยายาม และแสดงออก เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งแรกในสิ่งที่เรามุ่งมั่น

คุณครูประสงค์... เพื่อนที่สอนว่าอย่ามาเก่งกว่า เพราะคนสุภาพเมื่อโกรธย่อมลงไม้ลงมือได้รุนแรง(ครูคนนี้เป็นนายแพทย์ที่มีตำแหน่งสูงด้วย)

คุณครูอีกเยอะแยะที่ไม่ได้เอ่ยนาม

ผมมีครูเยอะแม้เดียวนี้ยังคงมีครูอยู่รอบข้าง ผมเป็นนักเรียนเสมอจึงมีครูอยู่รอบข้าง

ผมเป็นนักเรียนของชีวิต
แม้ชีวิตที่เหลืออยู่ก็ยังจะแสวงหาครูอยูตลอดไป

ด้วยจิตคารวะต่อครูทั้งมวลของโลก

ทิพย์ พัชน์ศรี

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ชีวิตที่เหนื่อยอย่างต้องการเหนื่อย

ชีวิตท่ี่มีนับถึงวันนี้ ได้ 21065 วัน ทำงานกับองค์กรหนึ่งได้ยาวนานถึง 12821 วันในวันนี้ คิดเป็น 60.86 % ของชีวิตทั้งหมด
ตลอดเวลามาถามตนเองว่าเหนื่อยไหม ตอบกับตัวเองว่า ยังไม่เหนื่อย ยังไม่เมื่อยล้า สู้ต่อไป ในชีวิต ในการงานนี้ ณ วันนี้ ยังมีเวลาเหลืออยู่อีก 995 วัน
ผ่านชีวิตวัยรุ่นที่ไร้จุดหมาย ผ่านกลางคนที่นึกว่ามีจุดหมาย แต่สุดท้ายยังไม่รู้ว่าจะไปหนได ทำงานมา มีชีวิตมา มีภาระ ผ่านวันไป มีความหมายไปวันต่อวัน
เข้าสู่บั้นปลายของชีวิตแล้ว ต้องสะสมกำลังเพื่อที่จะอยู่ต่อไป ในโลกที่ต้องอยู่น่ี้ มีครอบครัวที่น่ารัก น่าชื่นใจ มีวันเวลาที่ลดทอนความทุกข์ยากทางกายลง เพิ่มพูนความสามารถทางปัญญาบ้าง และไม่รู้จักเสียน้ำตาอีกแล้ว
ยังจะเหนื่อยไหม เตรียมตัวไว้ดีเพียงใดกับบั้นปลายชีวิต ต้องเป็นภาระให้แก่ครอบครัวไหม

ยังคงจะเหนื่อยอยู่ ตามที่ต้องการจะเหนื่อย อยากพักจะพัก เพราะประสบการณ์สอนให้รู้ว่าเมื่อผ่านการเหนื่อยหนึ่งครั้งจะเท่ากับการสร้างกำลังเพื่อสู้ได้อีกสองครั้งในความต้องการกำลังที่เท่ากัน
เตรียมตัวสำหรับบั้นปลายชีวิตไว้ในเรื่องกำลังใจ กำลังกาย ส่วนกำลังทรัพย์นั้นยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน บนความประมาทใช้เกินกำลังบ้าง ต้องฝึกอีกในช่วง 995 วันนี้
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่คิดว่าเป็นภาระให้ใครมานานมากแล้ว ทั้งทางด้านการงาน พ่อแม่ พี่น้อง และลูกเมีย (พ่อในที่นี้คือพ่อโดยการเลียงดู เพราะไม่ได้อยู่กับพ่อผู้ให้กำเนิดตั้งแต่เกิดแล้ว )
แล้วจุดหมายในชีวิตคืออะไร

จุดหมายไกลๆ คือ นิพพาน ความสงบ มิใช่การฝากตำนานไว้ ไม่สนใจว่าใครจะกล่าวถึงอย่างไร ทั้งดีและไม่ดี
จุดหมายกลางๆ คือ ได้เกี้อกูลแก่ผู้คนด้วยกำลังและสติปัญญาที่มี ยะถา พะลัง ยะถา ปัจจะยัง
จุดหมายใกล้ๆ คือ ทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด
ต้องพยายาม ทำ ด้วยสติ สมาธิ บนฐานความเกื้อกูล เมตตา ปรับรับตามสภาพที่เปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหว มั่นคง ตรงต่อธรรม
ดังนั้นในชีวิตที่เหลืออยู่ คงจะเหนื่อยอย่างที่ต้องการเหนื่อย
แต่เปี่ยมด้วยความสุขที่ได้เกื้อกูล เมตตา และทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

ปีใหม่ ๒๕๕๓

ปีใหม่ปีนี้ ไม่ได้ไปไหนไกลบ้าน ตื่น ๗ โมง รดน้ำต้นไม้แล้วกินข้าวหน้าเป็ดเป็นอาหารมื้อแรกของปี สายมาไปทานก๋วยเตี๋ยวโกเหลียง แล้วไปเที่ยวงาน โอทอบ ที่บ้านหลุก


ไม่ได้ไปแม่ทะนานแล้ว เส้นทางที่ใช้เดินทางไปเป็นทางลาดยางสภาพดี ออกจากตัวเมืองไปทางอำเภอแม่ทะ พอแยกจะเข้าบ้านหลุกเป็นทางคอนกรีตค่อนข้างแคบ แต่รถสามารถสวนกันได้
บ้านหลุกมีงานแกะสลักไม้ขึ้นชื่อ

นอกจากแกะสลักไม้แล้วยังได้เห็นภาพเขียนสวยๆ ด้วย





ออกจากบ้านหลุกมาประมาณ ๓ โมงเย็น ออกทางบายพาสเลยไปดูงานที่ ศูนย์แสดงผลงานเซรามิก อำเภอเกาะคา มีงานแสดงศิลปของ สล่าล้านนา



ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ดูรอบ ชวนกันกลับบ้าน
ขากลับแวะซื้อของกินที่บิ๊กซีลำปาง กลับถึงบ้านประมาณ ๖ โมงเย็น
วันแรกของปี เป็นวันที่ชีวิตการทำงานเหลืออยู่อีก ๑๐๐๒ วัน
มีความสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่ชอบอยู่กับชีวิตนี้